วันอาทิตย์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556


มนุษย์ยุคแรก หลังจากที่แผ่นดินได้เกิดขึ้นแล้ว ได้มีพรหมพวกหนึ่งจุติลงมาเกิดเป็นมนุษย์ โดยเป็นพรหมที่หมดบุญ หรือสิ้นอายุจากชั้นอาภัสสราพรหม การเกิดมาเป็นมนุษย์ในยุคแรกนี้ เป็นการเกิดเองโดยไม่ต้องอาศัยพ่อแม่ เกิดแล้วมาก็โตเต็มวัยเลย ซึ่งการเกิดชนิดนี้เรียกว่า เกิดแบบโอปปาติกะ
มนุษย์ที่จุติมาจากอาภัสสราพรหมนี้ จะมีรูปร่างและลักษณะเหมือนขณะที่ตอนยังเป็นพรหม คือจะไม่มีเพศ ร่างกายมีแสงสว่างเรือง มีรัศมีสว่าง เหาะไปมาในอากาศได้ และมีปีติเป็นอาหาร ไม่ต้องกินสิ่งอื่นที่อยู่ภายนอกร่างกายเข้าไป 
โลกในช่วงที่พรหมลงมาเกิดเป็นมนุษย์นี้ มีสัณฐานแบนและมีจุดเชื่อมต่อกับสวรรค์ (สวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา) โลกกับสวรรค์สามารถไปมาหาสู่กันได้ แต่ต่อมาจึงค่อย ๆ เปลี่ยนรูปทรงและเคลื่อนตัวห่างออกจากสวรรค์ไปตามบาปอกุศลที่มนุษย์สร้าง ทั้งทางกาย ทางวาจา และทางใจ จากโลกที่แต่เดิมมีสัณฐานแบน ก็เริ่มฟูขึ้น เมื่อฟูจนได้ระดับหนึ่ง ก็จะหดตัวเข้าเป็นทรงรี แล้วจึงกลายเป็นทรงกลมในที่สุด ซึ่งแต่ละช่วงที่โลกมีการเปลี่ยนแปลงรูปทรงนี้ใช้เวลานานมาก ยุคที่โลกกลมนี้เป็นยุคที่มนุษย์มีอายุต่ำกว่า ๑ แสนปี
มนุษย์ที่เกิดมีชีวิตอยู่เช่นนั้นเป็นเวลายาวนาน จนกระทั่งมีมนุษย์คนหนึ่ง (มนุษย์ที่ลงมาเกิดในยุคนี้มีเป็นจำนวนมาก ไม่ใช่คนเดียวหรือ ๒ คน) เห็นดินที่มีสีสันสวยงาม มีกลิ่นหอม เห็นแล้วก็อยากจะหยิบขึ้นมาลิ้มลอง จึงหยิบใส่ปากเพื่อลิ้มรส แต่เพียงแค่ดินนั้น (ง้วนดิน) สัมผัสเพียงปลายลิ้น รสดินก็แผ่ซาบซ่านไปทั่วร่างกาย มีรสเป็นที่ถูกใจของมนุษย์ผู้นั้น จึงหยิบมาบริโภคอีก มนุษย์อื่นเห็นเช่นนั้นจึงพากันเอาอย่างบ้าง และเนื่องจากง้วนดินที่บริโภคเข้าไปนั้นเป็นอาหารหยาบ จึงทำให้รัศมีกายและแสงในตัวของมนุษย์หายไป ความมืดจึงบังเกิดขึ้น มนุษย์ทั้งหลายเมื่อถูกความมืดปกคลุมจึงพากันตกใจ

เมื่อความมืดบังเกิดขึ้นอยู่นั้นเอง สุริยเทพบุตรพร้อมด้วยดวงอาทิตย์ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยก็บังเกิดขึ้น ทำให้มีแสงสว่างเกิดขึ้นมาขับไล่ความมืด จากนั้นดวงจันทร์และดวงดาวต่าง ๆ ก็เกิดขึ้น ทำให้มีกลางวัน กลางคืน ฤดูกาลต่าง ๆ พร้อมกับการเกิดขึ้นของเขาพระสุเมรุ เขาจักรวาล เขาหิมพานต์ และมหาสมุทร ซึ่งการเกิดขึ้นของสิ่งเหล่านี้ใช้เวลานานมาก
นอกจากฤทธิ์ของอาหารหยาบที่มนุษย์บริโภคเข้าไป จะทำให้รัศมีกายและความสว่างหายไปแล้ว ยังส่งผลให้มนุษย์มีผิวพรรณที่เศร้าหมองลงไม่ผ่องใสสวยงามเหมือนดังเดิม แต่ความเศร้าหมองที่เกิดขึ้นในมนุษย์แต่ละคนมีไม่เท่ากัน บางคนเศร้าหมองน้อย บางคนเศร้าหมองมาก ขึ้นอยู่กับกรรมเก่าที่เคยทำมาในชาติต่าง ๆ และกิเลสที่เกิดขึ้นในขณะนั้น เมื่อมีความแตกต่างเกิดขึ้น ทำให้มนุษย์มีความยึดมั่นและถือตัวเกิดขึ้น จึงทำให้ร่างกายที่เคยเหาะได้หยาบลง จึงเหาะไม่ได้อีกต่อไป
และจากบาปกรรมที่เกิดขึ้นนี้ สิ่งต่างจึงแปรเปลี่ยนไป ง้วนดินที่เคยมีรสอร่อยได้หายไป กลายเป็นสะเก็ดดิน แต่ยังคงมีรสอร่อย และกลิ่นหอม บริโภคได้เหมือนเดิม ยิ่งมนุษย์ถูกกิเลสครอบงำเท่าไร ความประณีตของอาหารก็น้อยลงทุกที จากสะเก็ดดิน กลายเป็นเครือดิน และต่อมาได้กลายเป็นข้าวสาลี

ข้าวสาลีในยุคนั้นต่างข้าวสาลีในยุคปัจจุบัน โดยเป็นข้าวที่มีเปลือกบางคล้าย ๆ เปลือกของแตงกวา จึงกินได้ทั้งเปลือก มีสีเหลืองอมขาว รู้สึกนุ่มเมื่อเคี้ยว มีกลิ่นหอม มีคุณค่าทางอาหารครบ และมีความอร่อยอยู่ในตัว เมื่อบริโภคเข้าไปแล้วจะสามารถดับความหิวกระหาย ความเหน็ดเหนื่อยได้ ขนาดของเมล็ดประมาณ ๑ ศอกของมนุษย์ในยุคนั้น(ศอกที่กำมือแล้ว) ๑ เมล็ดสามารถบริโภคได้ ๓- ๕ คน เมื่อจะบริโภคก็นำมาวางไว้บนแผ่นหินชนิดหนึ่ง ข้าวก็จะสุกเอง

เนื่องจากมนุษย์ยุคนั้นมีร่างกายที่ใหญ่กว่ายุคปัจจุบันมาก ข้าวสาลีจึงมีลำต้นสูงใหญ่มาก โดยสูงประมาณเท่าต้นยางนา (ยางนาสูงโดยเฉลี่ย ๔๐ - ๔๕ เมตร) และสูงกว่ามนุษย์ในยุคนั้น ปกติรวงข้าวจะตั้งตรง แต่ครั้นเมื่อรวงข้าวสุกก็จะโน้มลงมาจนมนุษย์สามารถเก็บได้ เมื่อเก็บแล้วก็จะงอกออกมาใหม่ และขึ้นได้ทั่วไป
เนื่องจากคุณภาพของอาหารที่มนุษย์บริโภคเข้าไป มีลักษณะหยาบขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งนี้ก็เป็นเพราะกิเลสที่เพิ่มมากขึ้นของมนุษย์ ทำให้อาหารที่มนุษย์บริโภคเข้าไปนั้นไม่สามารถถูกดูดซึมได้ดังเดิม เกิดมีกากอาหารขึ้นกายเป็นของส่วนเกิดของร่างกาย ร่างกายของมนุษย์จึงปรากฏช่องทางขับถ่ายขึ้นคือทวารหนักและทวารเบา แต่เนื่องจากกรรมที่เคยประพฤติผิดศีลกาเมของชาติในอดีต ส่งผลทำให้มนุษย์มีอวัยวะเพศต่างกัน บางคนเพศหญิงปรากฏ บางคนเพศชายปรากฏ
เมื่ออวัยวะเพศปรากฏ และด้วยเหตุว่า มีเพศต่างกันเป็นเพศหญิงเพศชาย ทำให้มนุษย์เพ่งเล็งกันและกัน มีความปรารถนาในกาม มีความสนใจในเพศตรงข้าม จึงต่างเข้าหากันและได้เสพเมถุนธรรมต่กัน และเนื่องจากการเสพเมถุนธรรมนี้เป็นสิ่งแปลกใหม่ จึงทำให้มนุษย์ส่วนมาก เห็นการที่หญิงชายเสพกามกันนั้นเป็นสิ่งที่น่ารังเกียจ จังพากันห้ามปราม จับแยก รวมทั้งติเตียน ด่าว่า จนกระทั่งพากันขับไล่ โดยในพระสูตรได้พรรณนาถึงอาการขับไล่ไว้ว่า
" สัตว์เหล่าใดเห็นสัตว์เหล่าอื่นกำลังเสพเมถุนกัน ก็โปรยฝุ่นลงบ้าง โปรยขี้เถ้าลงบ้าง โปรยโคมัยลงบ้าง ด้วยกล่าวว่า คนถ่อย เจ้าจงฉิบหาย คนถ่อย เจ้าจงฉิบหายดังนี้ แล้วกล่าวว่า ก็สัตว์จักกระทำกรรมอย่างนี้แก่สัตว์อย่างไรดังนี้ ...
เมื่อชายหญิงเหล่านั้น ถูกรังเกียจและขับไล่ จึงเสาะแวงหาหาและสร้างที่มุงบังเพื่อป้องปิดในเวลาเสพเมถุนธรรม ทำให้มีการสร้างบ้านเรือนตามมา เมื่อมนุษย์ต่างก็ซ้องเสพกามกัน ทำให้การเกิดแบบชลาพุชะคือ การเกิดในมดลูกมีการตั้งครรภ์เกิดขึ้น ซึ่งถือได้ว่ามนุษย์ได้เริ่มเกิดจากครรภ์ตั้งแต่ครั้งนั้น หลังจากนั้นก็ไม่มีการเกิดแบบโอปปาติกะในหมู่มนุษย์อีก
เมื่อมนุษย์สร้างบ้านเรือน มีที่อยู่อาศัยเป็นหลักแหล่งจึงเกียจคร้านในการออกไปแสวงหาข้าวสาลีบ่อย ๆ เกิดความโลภขึ้น เมื่อออกไปเก็บข้าวสาลีก็นำมาทีละมาก ๆ นำมาสะสมไว้ ยิ่งความโลภมากเท่าไรความประณีตของอาหารก็ยิ่งน้อยลง ข้าวสาลีจึงเริ่มเสื่อมคุณภาพลงไปเรื่อย ๆ ขนาดต้นเล็กลง ปรากฏมีเปลือกขึ้น และเมื่อเก็บไปแล้วก็ไม่งอกออกมาอีก ที่เคยขึ้นอยู่ทั่วไป ก็เริ่มลดน้อยร่อยหรอลงไปเรื่อย หาได้ยากขึ้น

จะเห็นได้ว่าการเปลี่ยนแปลงของพรหมในชั้นอาภัสสราที่ได้เสื่อมจากอัตภาพเดิมกลายมาเป็นมนุษย์ในยุคต้นกัป เพราะอาศัยเหตุคือง้วนดิน

หากจะกล่าวอีกนัยหนึ่งง้วนดินก็เป็นวัตถุกามชั้นเลิศ ที่ชักชวนให้พรหมเหล่านั้นหันมาสนใจ เมื่อทดลองลิ้มก็ติดใจ ถูกกิเลสกามคือความอยากที่มีอยู่ในใจแต่เดิมเข้าครอบงำ อุปมาเปรียบง้วนดินได้กับกับดักของนายพราน ที่คอยดักสัตว์ป่าผู้โง่เขลาให้เข้ามาติดนั่นเอง
ถึงแม้ว่าอาภัสสราพรหมจะเป็นมนุษย์ในยุคต้นกัป แต่อายุของมนุษย์นั้นก็ยืนยาวจนมิอาจที่จะนับได้ซึ่งในภาษาบาลี คือ อสงไขยปี เหตุที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่าในสมัยนั้นมิได้มีมลภาวะเช่นปัจจุบัน ดินฟ้าอากาศ ฤดูต่างๆ ก็มิได้แปรปรวนมีแต่ฤดูสบาย ไม่ต้องมีบ้านไว้คอยกันฝน ไม่ต้องมีร่มเงาไว้คอยบังแดด เครื่องนุ่งห่มนั้นก็เป็นเครื่องนุ่งห่มเมื่อครั้งยังเป็นพรหม ไม่ต้องมีการประกอบการงาน สิ่งใดที่เป็นความยากลำบากในยุคนั้นล้วนมิได้มีเลย
โลกในยุคแรกจึงเป็นโลกที่สะดวกสบาย ปราศจากความทุกข์ยากลำบากใดๆ หากจะมีความทุกข์บ้างก็เป็นความทุกข์เล็ก ๆ น้อย ๆ ที่มีสิ่งใดสิ่งหนึ่งมาชดเชยแทน เช่น การเสื่อมจากง้วนดินที่เป็นอาหารอันประณีต กลับกลายมาเป็นต้องรับประทาน กะบิดินและเครือดินตามลำดับ เป็นต้น
การเปลี่ยนแปลงอย่างหนึ่งที่มีผลกระทบอย่างยิ่งต่อมนุษย์ในยุคนั้น ก็คือเรื่องของผิวพรรณที่มีทั้งงามและทรามควบคู่กันไป เพราะการบริโภคของพวกมนุษย์ในยุคต้นกัปนั้นในสมัยที่ตนยังเป็นพรหมอยู่ก็บริโภคด้วยความต้องการ หาใช่เพราะความจำเป็นไม่ เพราะพรหมนั้นมีปีติเป็นภักษาอยู่แล้ว อาหารอย่างอื่นจึงไม่มีความจำเป็น เมื่อมนุษย์คนใดมีความต้องการมาก ก็จะบริโภคมากมาตั้งแต่สมัยที่ตนยังเป็นพรหม ธาตุหยาบที่มีสั่งสมอยู่ในร่างกายก็จะมากตามไปด้วย เป็นเหตุให้ความประณีตของผิวพรรณลดลง หากมนุษย์คนใดบริโภคเพียงเพื่อต้องการแค่ให้ดำรงอัตภาพได้ธาตุหยาบที่ได้จากอาหารก็จะเข้าไปในร่างกายน้อย ความประณีตของผิวพรรณจึงยังมีอยู่บ้าง ทำให้มีผิวพรรณงามกว่าพวกที่บริโภคมาก

เราอาจจะเปรียบเทียบกับการผสมสีดำลงไปในสีขาว ซึ่งถือว่าเป็นสีที่มีความบริสุทธิ์หากผสมน้อย สีขาวก็จะกลายเป็นสีเทา แต่หากผสมมากไปสีขาวก็จะกลายเป็นสีแดงไปในที่สุด เมื่อเป็นเช่นนี้พวกมนุษย์เหล่านั้นจึงดูหมิ่นผิวพรรณของกันและกัน การที่กายของพรหมหมดรัศมีไป รวมไปถึงความกล้าแข็งของกายที่ค่อยมีมากขึ้นเรื่อยๆ
ซึ่งเราสามารถเปรียบเทียบปรากฏการณ์เช่นนี้ ได้กับวิธีการทางเคมีของนักวิทยาศาสตร์ โดยนำเอาธาตุองค์ประกอบหลาย ๆ ตัวไปผสมเข้ากับธาตุหลักตัวใดตัวหนึ่ง จนทำให้ธาตุนั้นเกิดปฏิกิริยาการเปลี่ยนแปลง ไปเป็นธาตุตามที่เราต้องการ นี้เป็นหลักพื้นฐานง่าย ๆ ในวิชาเคมี
และเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงที่เป็นไปอย่างช้าๆได้กับการนำน้ำเปล่าเข้าไปแช่ในช่องฟรีส น้ำที่เป็นของเหลวในตอนแรกพอเย็นมากเข้าๆ ก็จะค่อย ๆ กลายเป็นวุ้น และพอถึงความเย็นระดับหนึ่ง ก็จะกลายเป็นก้อนแข็งไปในที่สุด น้ำนั้นมิได้แข็งขึ้นในทันทีทันใด ร่างกายของพวกพรหมก่อนที่จะกลายเป็นมนุษย์ในยุคต้นกัป ก็จะเปลี่ยนแปลงไปเช่นนั้น ซึ่งจะต้องอาศัยระยะเวลาเป็นล้านๆ ปี
ร่างกายของมนุษย์ในยุคต้นกัปนั้น มีขนาดที่ใหญ่โตและแข็งแรงมาก ถ้าจะยกตัวอย่างจากในพระไตรปิฎก ก็มีในคัมภีร์พุทธวงศ์ที่กล่าวถึงพระพุทธเจ้าพระองค์ต่างๆ ที่มีพระชนมายุ และขนาดของพระวรกายไม่เท่ากัน พระพุทธเจ้าบางพระองค์มีพระวรกายสูงถึง 60 ศอก
หรือถ้าจะยกตัวอย่างยุคที่ใกล้เข้ามาอีก ก็คงจะเป็นเรื่องอาวุธยุทโธปกรณ์ของชาติต่าง ๆในสมัยก่อนที่มีขนาดใหญ่โต เช่น อาวุธในสุสานของจิ๋นซีฮ่องเต้ แม้กระทั่งของไทยเราเองที่มีแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติซึ่งบุคคลเหล่านั้นแม้จะมิได้ดำรงอยู่ในยุคต้นกัป ก็ยังมีรูปกายที่ใหญ่โต มีพละกำลังมหาศาลขนาดนั้น จึงสะท้อนให้เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมในยุคก่อนส่งผลมายังร่างกายของมนุษย์โดยลำดับ เมื่อสภาพแวดล้อมของธรรมชาติเลวลงกายของมนุษย์ก็ค่อย ๆ เล็กลง เริ่มอ่อนแอมากขึ้น มีโรคภัยไข้เจ็บเพิ่มขึ้น แล้วเหตุที่สภาพแวดล้อมของธรรมชาติได้เปลี่ยนแปลงไปก็มีเหตุมาจากจิตใจของมนุษย์นี่เอง
ระบอบการปกครองแรกของโลก
เมื่อข้าวสาลีเริ่มปรากฏน้อยลง ซ้ำยังห่างไกลออกไปจากที่อยู่อาศัยขึ้นเรื่อย ๆ จึงเริ่มมีการจับจองพื้นที่และแบ่งปันเขตแดนกัน แต่เนื่องจากมีผู้ที่อยากได้ข้าวของผู้อื่นจึงทำการลักขโมย เมื่อมีการจับได้ก็จะตัดพ้อต่อว่า และเมื่อบ่อยครั้งเข้าก็มีการทำร้ายร่าง เกิดความเดือดร้อนขึ้น มนุษย์จึงปรึกษาให้มีการตั้งทำหน้าที่ปกครองพวกตนขึ้นเป็นหัวหน้า
ในการคัดเลือกผู้ที่จะมาเป็นผู้ปกครองนั้น มนุษย์จะเลือกผู้ที่มีสติปัญญา มีรูปร่างลักษณะและกิริยาสง่างามน่าเกรงขาม สามารถปกครองคนทั้งปวงได้ เมื่อพบผู้ใดที่มีคุณสมบัตินี้แล้ว ก็จะเลือกให้เป็นพระเจ้าแผ่นดินปกครองประเทศ ซึ่งพระเจ้าแผ่นดินก็จะทรงวางระเบียบแบบแผน และออกกฎข้อบังคับต่าง ๆ เพื่อให้ประชาชนปฏิบัติเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข มีการจัดแบ่งปันเขตแดนต่าง ๆ อย่างยุติธรรม จึงทำให้ได้รับการยกย่องเป็นกษัตริย์ ซึ่งแปลว่าผู้เป็นใหญ่ในการเกษตร ระบอบกษัตริย์จึงเป็นการปกครองระบอบแรกของมนุษยชาติ แต่กษัตริย์ในยุคนั้น ปกครองผู้ใต้ปกครองแบบพ่อปกครองลูก
แม้ว่าจะมีการเลือกกษัตริย์แล้ว แต่มนุษย์บางพวกเห็นการกระทำของมนุษย์ที่กระทำความผิด จึงพากันหลีกเลี่ยงออกจากอกุศลเหล่านั้น พากันลอยบาปอกุศลทิ้งไปจึงถูกสมมติว่า พราหมณ์ พวกเขาพากันสร้างกระท่อมที่มุงบังด้วยใบไม้อยู่ในราวป่า ทำการเพ่งกสิณอยู่ในป่า ไม่ได้ทำมาหากินเช่นพวกมนุษย์ทั่วไป แต่แสวงหาอาหารด้วยการขอจากชนในหมู่บ้านเพื่อบริโภคในเวลาเช้าเย็น ชนเหล่านั้นเห็นเขาทำการลอยบาปอกุศลซึ่งพวกตนก็ยังไม่สามารถทำได้จึงยินดีมอบอาหารให้แก่เขา เมื่อเขาได้อาหารแล้วก็กลับไปทำความเพียรเพ่งต่อ จนฌานเกิดขึ้น พวกเขาจึงได้ถูกเรียกสมมติว่า ฌายิกา
พวกพราหมณ์ที่ทำการเพ่งกสิณบางพวกมิได้ทำฌานให้บังเกิดขึ้นได้ กลับพากันเที่ยวไปรอบนิคมแล้วเขียนคัมภีร์ต่าง ๆ ขึ้นมา พวกเขาถูกเรียกสมมติว่า อัชฌายิกา คำนี้ในสมัยก่อนท่านสมมติกันว่าเป็นคำเลว แต่ในสมัยนี้กลับถูกสมมติว่าเป็นคำประเสริฐฝ่ายมนุษย์ที่ยึดติดในเมถุนธรรมแยกกันทำงานต่างๆเพื่อหาเลี้ยงชีพจึงถูกเรียกสมมติว่า เวสสา คำว่า แพศย์และศูทร จึงเกิดขึ้นต่อมาภายหลังเพราะการแยกประเภทของผู้ทำการงาน คือแพศย์นั้นเป็นนายหรือเจ้าของงาน แต่ศูทรกลับเป็นคนที่ทำงานให้เพื่อการรับค่าจ้าง
ต่อมาเมื่อมีสัตว์เกิดขึ้น โดยช้างกับม้าเกิดขึ้นก่อน เกิดขึ้นมาเป็นจำนวนมาก มนุษย์ได้จับช้างและม้ามาใช้สำหรับทำการเกษตร และเป็นพาหนะในการเดินทาง แต่ก่อนที่จะนำไปใช้จะต้อนสัตว์เหล่านั้น เลือกสัตว์ที่มีลักษณะดีถวายกษัตริย์ และให้กษัตริย์แบ่งปันช้างม้าให้ประชาชนนำไปใช้
กำเนิดสัตว์
เมื่อมนุษย์ได้มีการคัดเลือกบุคคลขึ้นมาเป็นพระเจ้าแผ่นดิน เพื่อปกครองพวกของตนแล้ว ทำให้สังคมสงบขึ้นมาอีกครั้ง เพราะแต่ละคนต่างก็เชื่อฟังพระเจ้าแผ่นดิน ปฏิบัติตามข้อปฏิบัติระเบียบแบบแผนที่พระเจ้าแผ่นดินทรงวางไว้ แต่อย่างไรก็ตามกิเลสในตัวมนุษย์ก็ไม่ได้น้อยลงไป กลับแต่จะมีเพิ่มขึ้นทุกที ดังนั้นอาหารต่าง ๆ จึงหยาบลงไปเรื่อย จากที่เป็นข้าวสาลีมีรสอร่อยกินได้โดยไม่ต้องอาศัยกับข้าว ก็มีคุณค่าทางอาหารน้อยลง รสไม่โอชาเช่นเดิม แต่ก็ได้มีพืชผัก ผลไม้ต่าง ๆ เกิดขึ้น โดยที่ต้นไม้เหล่านี้เกิดแบบโอปปาติกะ เกิดมาแล้วโตเลย ไม่มีการงอกจากเมล็ดแล้วค่อย ๆ โตขึ้น เมื่อมนุษย์เห็นก็นำมากินเป็นกับข้าว โยตลอดแรก ๆ ก็กินสด ๆ โดยไม่มีการปรุงหรือทำให้สุกอย่างในปัจจุบัน
ต่อมาเมื่อกิเลสเพิ่มมากอีก สัตว์ต่าง ๆ จึงเกิดขึ้น โดยสัตว์เหล่านี้เป็นที่เคยอยู่ในอบายภูมิของจักรวาลอื่น ซึ่งมีทั้งที่จากสัตว์นรก เปรต อสุรกาย และสัตว์ดิรัจฉาน เมื่อจักรวาลที่สัตว์เหล่านี้เสวยกรรมอยู่ถูกทำลาย ซึ่งอาจจะถูกทำลายด้วย ไฟ น้ำ หรือลม ก็ตาม เนื่องจากสัตว์เหล่านี้ยังไม่หมดกรรมที่ตนจะต้องใช้ จึงถูกลมกรรมพัดจากจักรวาลที่ถูกทำลายนั้นไปบังเกิดในจักรวาลต่าง ๆ ที่ยังไม่ถูกทำลาย และไปบังเกิดในภพภูมิต่าง ๆ ตามกรรมของตนตามที่ตนเคยเป็นในจักรวาลเดิม สัตว์ใดมีกรรมที่จะต้องมาเป็นสัตว์ ก็มาบังเกิดเป็นสัตว์ในจักรวาลที่ไปบังเกิดใหม่นั้น
สัตว์ในยุคแรกก็เช่นเดียวกับมนุษย์และพืชทั้งหลาย คือ เกิดแบบโอปปาติกะ เกิดแล้วโตเต็มไวทันที ไม่ต้องอาศัยพ่อแม่เป็นที่เกิด โดยการเกิดเป็นสัตว์อะไรนั้นขึ้นอยู่กับวิบากกรรมที่มีโลภะ โทสะ โมหะ ปรุงแต่ง ซึ่งโยปกติการเดเป็นสัตว์ดิรัจฉานนั้น จะมีโมหะเป็นหลัก ถ้าหากว่ามีโทสะผสมมากมีโลภะเพียงเล็กน้อย ก็จะเกิดเป็นสัตว์กินเนื้อ ถ้ามีโลภะมากมีโทสะเพียงเล็กน้อย ก็จะเกิดเป็นสัตว์กินพืช และถ้าหากมีทั้งโทสะและโลภะก็จะเกิดเป็นสัตว์ที่กินทั้งพืชทั้งเนื้อ
การส่วนสัดของ โลภะ โทสะ โมหะ ส่งผลทำให้เป็นสัตว์ต่าง ๆ หลากหลายกันไปนั้น เพื่อให้เข้าใจง่าย จะขอเปรียบเทียบกับการผสมสี คือ ปกติแม่สีมีอยู่ ๓ สี คือ สีแดง สีน้ำเงิน สีเหลือง เมื่อนำมาผสมกันเข้าแล้ว หากว่ามีการเปลี่ยนสัดส่วนของสี ไม่ว่าจะเป็นสีใดก็ตาม ย่อมทำให้สีที่ได้ออกมาแตกต่างกันไปได้อย่างหลากลหลาย เช่นเดียวกันเพราะสัตว์ส่วนของ โลภะ โทสะ โมหะ แตกต่างกันจึงทำให้มีสัตว์ต่าง ๆ เกิดขึ้นอย่างหลากหลาย
สัตว์ที่เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกก่อนสัตว์ชนิดอื่นทุกชนิด คือ ช้างและม้า ซึ่งถือว่าเป็นสัตว์ชั้นสูง โดยเกิดมาแบบโอปปาติกะ จากนั้นสัตว์ต่างจึงเกิดตามมา สัตว์ที่เกิดมานี้ล้วนเกิดแบบโอปปาติกะทั้งสิ้น แต่ว่าจะมีเพศมาด้วย ถ้ามีกรรมกาเมติดมาก็จะมาเกิดเป็นสัตว์เพศเมีย ถ้าไม่มีกรรมหรือใช้กรรมกาเมหมดแล้วก็จะเกิดเป็นสัตว์เพศผู้ เมื่อสัตว์ต่างเพศมาเจอกันจึงดึงดูดเข้าหากัน และสืบพันธุ์จึงทำให้มีการเกิดแบบอัณฑชะ คือ เกิดในฟองไข่เกิดขึ้น สัตว์ที่เกิดจากฟ


รูปที่แนบมาด้วย
รูปแนบ
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น